ความเป็นมาของโครงการ


โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายทางยกระดับช่วงนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ซึ่งเป็นโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปยังภาคตะวันออก อันเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง และท่าเรือแหลมฉบังในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งจะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรบริเวณทางเชื่อมเข้า-ออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รายละเอียดโครงการ ประกอบด้วย


1. แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายทางยกระดับช่วงนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (จุดเชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัชบริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์) และสิ้นสุดโครงการที่ประมาณ กม.18+000 ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 แขวงทับยาว เขตลากระบัง รวมระยะทางประมาณ 18.50 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตสะพานสูง และเขตลาดกระบัง โดยมีการออกแบบจุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
1) จุดขึ้น-ลง บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์
2) จุดเชื่อมต่อบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3) จุดขึ้น-ลง บริเวณลาดกระบัง

2. รูปแบบการก่อสร้าง

เป็นทางยกระดับตามแนวทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงศรีนครินทร์ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขนาด 3 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ช่องจราจรกว้าง 3.6 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1 เมตร จุดขึ้น-ลง จำนวน 3 แห่ง

3. การจัดเก็บค่าผ่านทาง

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง กรมทางหลวงได้กำหนดให้จัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบเปิด (Open System) โดยชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางที่ด่านขาออก (Exiting Ramp) และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางแบ่งตามประเภทของยานพาหนะ โดยกรมทางหลวงจะกำหนดให้มีวิธีการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งแบบเงินสด (Manual Toll Collection : MTC) และแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC ) ซึ่งสามารถพัฒนาสู่ระบบ Multi-lane free flow (M-Flow)

4. ระบบการบริหารจัดการ

เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีระบบต่าง ๆ ดังนี้

1) ระบบควบคุมการจราจร (Traffic Control Surveillance System)

เป็นระบบที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้ทาง และช่วยอำนวยการจราจรให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยระบบประกอบด้วยห้องควบคุมกลาง เพื่อเชื่อมโยงสั่งการไปยังเครื่องมืออุปกรณ์อำนวยการจราจรต่าง ๆ ตลอดสายทาง ประกอบด้วย

2) ระบบกู้ภัย

โครงการได้ออกแบบให้มีระบบกู้ภัยตลอดสายทาง เพื่ออำนวยความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ใช้ทางในยามฉุกเฉิน ให้สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
ภาพตัวอย่างงานระบบกู้ภัย

สถานะและแผนการดำเนินโครงการ


สถานะการดำเนินงานของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายทางยกระดับช่วงนครินทร์ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีรายละเอียดดังนี้
1) การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Feasibility Study) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายทางยกระดับช่วงนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วเสร็จ เมื่อปี 2560
2) รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.)
3) ปัจจุบันกรมทางหลวงดำเนินการออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) และการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนที่เหมาะสม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายทางยกระดับช่วงนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วเสร็จ