ความเป็นมาของโครงการ


โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน หรือ (M5) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายกรุงเทพมหานคร-ด่านแม่สาย/เชียงของ (M5) ในระยะเร่งด่วน ตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากใจกลางกรุงเทพมหานครสู่พื้นที่ด้านเหนือและบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนพหลโยธินและถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนอันเกิดจากการขยายตัวของชุมชนเมืองทางด้านทิศเหนือที่เชื่อมต่อกับจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน – นครราชสีมา (M6) ก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน จะเป็นโครงข่ายทางยกระดับที่เชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพมหานครสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้โดยตรง ช่วยให้การเดินทางมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรม โลจิสติกส์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

รายละเอียดโครงการ ประกอบด้วย


1. แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน (M5) มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อกับทางยกระดับอุตราภิมุขที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน บริเวณทางแยกต่างระดับรังสิต (ประมาณ กม.33+924 ของถนนพหลโยธิน) และมีจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน (ประมาณ กม.1+800 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงกับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน – นครราชสีมา (M6) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร โดยตลอดสายทางมีจุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้
1) จุดเชื่อมต่อ บริเวณด่านฯ รังสิต 1
2) จุดขึ้น-ลง บริเวณด่านฯ รังสิต 2
3) จุดขึ้น-ลง บริเวณด่านฯ คลองหลวง
4) จุดขึ้น-ลง บริเวณด่านฯ ม.ธรรมศาสตร์
5) จุดขึ้น-ลง บริเวณด่านฯ นวนคร
6) จุดขึ้น-ลง บริเวณด่านฯ วไลยอลงกรณ์
7) จุดขึ้น-ลง บริเวณด่านฯ ประตูน้ำพระอินทร์

2. รูปแบบการก่อสร้าง

เป็นทางยกระดับตามแนวถนนพหลโยธิน โดยก่อสร้างต่อขยายตั้งแต่ช่วงรังสิต - บางปะอิน รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร ขนาด 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ช่องจราจรกว้าง 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1 เมตร จุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 8 แห่ง และงานอาคารที่เกี่ยวข้อง เช่น อาคารด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง อาคารศูนย์ควบคุมกลาง อาคารกู้ภัย และอาคารสถานีตำรวจทางหลวง
รูปแบบทางขึ้น-ลงโครงการฯ

3. การจัดเก็บค่าผ่านทาง

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง กรมทางหลวงได้กำหนดให้จัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบเปิด (Open System) โดยชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางที่ด่านขาเข้า และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางแบ่งตามประเภทของยานพาหนะ โดยกรมทางหลวงจะกำหนดให้มีวิธีการจัดเก็บค่าผ่านทางแบบ Multi-lane free flow (M-Flow)

4. ระบบการบริหารจัดการ

เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีระบบต่าง ๆ ดังนี้

1) ระบบควบคุมการจราจร (Traffic Control Surveillance System)

เป็นระบบที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้ทาง และช่วยอำนวยการจราจรให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยระบบประกอบด้วยห้องควบคุมกลาง เพื่อเชื่อมโยงสั่งการไปยังเครื่องมืออุปกรณ์อำนวยการจราจรต่าง ๆ ตลอดสายทาง ประกอบด้วย

2) ระบบกู้ภัย

โครงการได้ออกแบบให้มีระบบกู้ภัยตลอดสายทาง เพื่ออำนวยความปลอดภัย และช่วยเหลือผู้ใช้ทางในยามฉุกเฉิน ให้สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด

สถานะและแผนการดำเนินโครงการ


สถานะการดำเนินงานของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน มีรายละเอียดดังนี้
1) การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Feasibility Study) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน แล้วเสร็จ เมื่อปี 2559
2) การออกแบบรายละเอียด (Detail Design) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน แล้วเสร็จ เมื่อปี 2559
3) รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว
4) ปัจจุบันกรมทางหลวงอยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการดำเนินโครงการที่เหมาะสม โดยคาดว่าสามารถเสนออนุมัติโครงการได้ภายในปี 2565 และดำเนินการก่อสร้างช่วงปี 2567-2570 และเปิดให้บริการปี 2571